เมนู

วิชยสูตรที่ 11


ว่าด้วยเรื่องร่างกาย


[312] ถ้าว่าบุคคลเที่ยวไป ยืนอยู่
นั่ง นอน คู้เข่าหรือเหยียดออก นั่นเป็นความ
เคลื่อนไหวของกาย กายประกอบแล้วด้วย
กระดูกและเอ็นฉาบด้วยหนังและเนื้อ ปกปิด
ด้วยผิว เต็มด้วยไส้ อาหาร มีก้อนตับ มูตร
หัวใจ ปอด ม้าม ไต น้ำมูก น้ำลาย เหงื่อ
มันข้น เลือด ไขข้อ ดี เปลวมัน อัน
ปุถุชนผู้เป็นพาล ย่อมไม่เห็นตามความเป็น
จริง อนึ่ง ของอันไม่สะอาดย่อมไหลออก
จากช่องทั้งเก้าของกายนี้ทุกเมื่อ คือขี้ตาจาก
ตา ขี้หูจากหู และน้ำมูกจากจมูก บางคราว
ย่อมสำรอกออกจากปาก ดีและเสลดย่อม
สำรอกออก เหงื่อและหนองฝีซึมออกจาก
กาย อนึ่ง อวัยวะเบื้องสูงของกายนี้เป็น
โพรง เต็มด้วยมันสมอง คนพาลถูกอวิชชา
หุ้มห่อแล้ว ย่อมสำคัญกายนั้นโดยความเป็น
ของสวยงาม.

ก็เมื่อใด เขาตายขึ้นพอง มีสีเขียว
ถูกทิ้งไว้ในป่า เมื่อนั้น ญาติทั้งหลายย่อม

ไม่ห่วงใย สุนัขบ้าน สุนัขจิ้งจอก หมาป่า
หมู่หนอน กา แร้ง และสัตว์เหล่าอื่น ย่อม
กัดกินกายนั้น ภิกษุในศาสนานี้ ได้ฟังพระ-
พุทธพจน์แล้ว มีความรู้ชัด เธอย่อมกำหนด
รู้กายนี้ ย่อมเห็นตามความเป็นจริงทีเดียว
สรีระที่มีวิญญาณนี้เหมือนสรีระที่ตายแล้ว
นั่น สรีระที่ตายแล้วนั้น เหมือนสรีระที่มี
วิญญาณนี้ ภิกษุพึงคลายความพอใจในกาย
เสียทั้งภายในและภายนอก ภิกษุนั้นมีความ
รู้ชัดในศาสนานี้ ไม่ได้ยินดีแล้วด้วยฉันทรา-
คะ ได้บรรลุอมฤตบท สงบดับไม่จุติ กาย
นี้มีสองเท้า ไม่สะอาด มีกลิ่นเหม็น อัน
บุคคลบริหารอยู่ เต็มไปด้วยซากศพต่าง ๆ
ถ่ายของไม่สะอาด มีน้ำลายและน้ำมูกเป็น-
ต้นให้ไหลออกจากทวารทั้งเก้า และขับ
เหงื่อไคลให้ไหลออกจากขุมขนนั้น ๆ ผู้ใด
พึงสำคัญเพื่อยกย่องตัวหรือพึงดูหมิ่นผู้อื่น
จักมีอะไร นอกจากการไม่เห็นอริยสัจ.

จบวิชยสูตรที่ 11

อรรถกถาวิชยสูตร


วิชยสูตร (นันทสูตร) เริ่มต้นด้วยคาถาว่า จรํ วา ยทิวา ติฏฺฐํ
ดังนี้ เรียกว่า กายวิจฉันทนิกสูตร ดังนี้บ้าง.
มีอุบัติอย่างไร ? ได้ยินว่า สูตรนี้ตรัสไว้ในฐานะ 2 อย่าง เพราะ
ฉะนั้น วิชยสูตรนั้น จึงมีอุบัติ 2 อย่าง.
ในสูตรนั้น สตรีที่มีชื่อว่า นันทา มี 3 นาง คือ นันทา ผู้เป็น
น้องสาวของพระอานนทเถระ* อภิรูปนันทา พระธิดาของพระเจ้าเขมกศากยะ
นันทาผู้ชนบทกัลยาณี บรรพชาแล้ว ด้วยบรรพชาสำหรับมาตุคาม ที่พระผู้-
มีพระภาคเจ้าเสด็จถึงกรุงกบิลพัสดุ์โดยลำดับ ทรงแนะนำเจ้าศากยะทั้งหลาย
ทรงให้สตรีทั้งหลายมีนางนันทาเป็นต้นบรรพชาอนุญาตแล้ว ก็โดยสมัยนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ กรุงสาวัตถี นางอภิรูปนันทา มีรูปสวยยิ่งนัก
น่าดู น่าเลื่อมใส ด้วยเหตุนั้น ญาติทั้งหลายจึงตั้งชื่อนางว่า อภิรูปนันทา
ฝ่ายนางนันทาผู้ชนบทกัลยาณี ไม่เห็นสตรีที่มีรูปสวยเสมอกับตน นางทั้งสอง
นั้นเมาแล้วด้วยความเมาในรูป คิดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียน ทรง
ครหารูป ทรงแสดงโทษในรูปโดยอเนกปริยาย จึงไม่ไปสู่ที่บำรุงพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า ทั้งไม่ปรารถนาเพื่อจะเห็น.
หากจะมีคำถามว่า นางไม่เลื่อมใสอย่างนี้ เพราะเหตุไร จึงบรรพชา
เล่า ?

1. ยุ. นนฺทตฺเถรสฺส.